บริษัท ซีเทีย จำกัด
เลขที่ 8 ซอย เฉลิมพระเกียรติ ร.9 30 แยก 30 แขวงดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250
บริษัท ซีเทีย จำกัด
เลขที่ 8 ซอย เฉลิมพระเกียรติ ร.9 30 แยก 30 แขวงดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250
บริษัท ซีเทีย จำกัด
เลขที่ 8 ซอย เฉลิมพระเกียรติ ร.9 30 แยก 30 แขวงดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250
บริษัท ซีเทีย จำกัด
เลขที่ 8 ซอย เฉลิมพระเกียรติ ร.9 30 แยก 30 แขวงดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250
Tel. 065-516-0292, 02-101-1944
Tosspol Y.
9 พ.ย. 2565
5 ขั้นตอนการลดค่าใช้จ่ายของระบบลมที่ทำได้ง่าย ๆ
5 ขั้นตอนการลดค่าใช้จ่ายของระบบลมที่ทำได้ง่าย ๆ
ระบบลมภายในอุตสาหกรรมถือว่าเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในเกือบทุกโรงงาน เพราะการดำเนินงานในแต่ละส่วนล้วนแต่ต้องใช้ลมทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้ลมในการขับเคลื่อนกลไกของเครื่องจักร หรือแม้กระทั้งการผลิตอาหารและยา ก็จำเป็นที่จะต้องใช้ลมในกระบวนการผลิต ดังนั้นค่าใช้จ่ายที่เสียไปกับระบบลมในแต่ละปีถือว่าเป็นมูลค่าที่สูง ดังนั้นเราจะมาดูวิธีการช่วยลดค่าใช้จ่ายของระบบลมภายในอุตสาหกรรม กันแบบง่ายๆ โดยที่คุณก็สามารถทำได้
1. ตรวจเช็คจุดลมรั่วภายในระบบอย่างสม่ำเสมอ
หมั่นตรวจเช็คจุดลมรั่วภายในระบบอย่างสม่ำเสมอ เพราะ ถ้ามีลมรั่วมากจะทำให้ปั๊มลมทำงานนานขึ้น ซึ่งจะเป็นการสูญเสียพลังงานโดยเปล่าประโยชน์ โดยอาจจะทำการตรวจเช็คเบื้องต้นตามจุดต่อลม ข้องอ หรือจุดเชื่อมต่างๆ ภายในระบบ หรืออาจจะให้ทางผู้เชี่ยวชาญเรื่องการตรวจสอบจุดลมรั่วเข้ามาตรวจเช็คได้เช่นกัน เรียนรู้วิธีตรวจรั่วระบบลมโรงงาน โดยส่วนใหญ่การสูญเสียพลังงานจากลมรั่วมักเป็นสิ่งหนึ่งที่ผู้ใช้เครื่องมักไม่ค่อยรู้ตัว
2. ปรับตั้งค่าแรงดันลมให้เหมาะสมกับการใช้งาน
การปรับตั้งแรงดันของเครื่องปั๊มลม ไม่ควรตั้งสูงเกินค่าใช้งานจนเกินไป เพราะแรงดันที่สูงนั้นไม่ได้หมายความว่าลมมีปริมาณมากขึ้น แต่อาจหมายถึงการใช้งานที่เกินความจำเป็น ปั๊มลมต้องทำงานต่อเนื่องนานขึ้นซึ้งแลกมากับค่าไฟ หมายเหตุ ค่าแรงดันที่สูงเกินจำเป็นทุก ๆ 1 บาร์ มีค่าเท่ากับพลังงาน 7% ที่ต้องเสียเพิ่ม
3. การเลือกใช้ปั๊มลมให้เหมาะสมกับการใช้งาน
การเลือกปั๊มลมอาจจะต้องดูว่าการใช้ลมของเรามีการใช้ลมเยอะมากน้อยเพียงใด มีลักษณะการแกว่งตัวของลมสูงแค่ไหน หากผู้ใช้เครื่องมีลักษณะการใช้งานแบบคงที่ต่อเนื่อง หรือมีการแปรผันเพียงเล็กน้อย การใช้ปั๊มลมแบบ fixed speed ควรเป็นเครื่องจักรหลักที่นำมาใช้งาน แต่หากตัวกระบวนการผลิตในโรงงานมีการแปรผันสูงมาก เช่นกลางวันใช้ลมเยอะ กลางคืนใช้ลมน้อย การใช้ปั๊มลม VSD จะเหมาะสมกว่า และมีแนวโน้มที่จะคืนทุนได้เร็วมาก (หมายเหตุ หากนำปั๊มลม fixed speed ไปใช้กับไลน์ผลิตที่มีการใช้ลมน้อย ปั๊มลมจะมีแนวโน้มที่ทำงานในสถานะ unload สูงขึ้น ซึ่งจะเป็นพลังงานที่สูญเสียทิ้งโดยไม่จำเป็น) เรียนรู้เพิ่มเติมวิธีตรวจสอบการใช้ลมในระบบลมอุตสาหกรรม
4. การเลือกขนาดท่อให้เหมาะสมกับปั๊มลม
ขนาดท่อที่ใช้งานในระบบต้องมีขนาดที่เหมาะสม หากท่อมีขนาดเล็กเกินไป ลมที่ออกจากปั๊มลมจะอั้นไม่สามารถไหลไปปลายทางได้สะดวกซึ่งจะมีผลต่อ pressure drop ที่เกิดในระบบ ซึ่งตัว pressure drop คือหนึ่งในปัญหาหลักของการจ่ายค่าไฟแพงแบบไม่รู้ตัว ดังนั้นการเลือกขนาดท่อที่ถูกต้องจะทำให้ลดค่าไฟได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยแทบไม่ต้องมีการแก้ไขในระยะยาว
5. เปลี่ยนอะไหล่ปั๊มลมตรงตามวาระ
อะไหล่กลุ่มของ consume parts (air filter, oil filter, oil separator และน้ำมัน) ของปั๊มลมแต่ละยี่ห้อมีวาระการเปลี่ยนอะไหล่ที่ต่างกัน การเปลี่ยนอะไหล่ที่ช้ากว่ากำหนดจะกระทบในแง่ของ pressure drop ที่สูงขึ้น ซึ่งจะทำให้ค่าไฟเพิ่มขึ้นโดยไม่รู้ตัวเช่นกัน ดังนั้นการเปลี่ยนอะไหล่ตามระยะเวลาที่กำหนดจะช่วยให้เป็นการกดให้ค่า pressure drop ต่ำที่สุดตลอดการใช้งาน